เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิสจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงไม่พอใจในเรื่องบางเรื่องกับที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องส่วนรวมที่จะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น สิ่งสำคัญในการทำงานหรือการทำทุกสิ่งอย่างนั่นคือ ทัศนคติ ถ้าดีก็ยิ่งช่วยให้ทุกอย่างดีไปด้วย แต่ถ้าแย่ก็ส่งผลร้ายเช่นกัน วันนี้มีทริกเล็กๆ 18 ข้อ ให้ลองเอาไปปฏิบัติกันดูครับ เพื่อที่จะได้มีทัศนคติในการทำงานที่ดีขึ้นกันครับ
ส่วนใหญ่เราจะใช้เวลาในการเดินทางไม่ว่าจะมุดดินหรือลอยฟ้าไปจมปลักกับโซเชียลเน็ตเวิร์กเสียเป็นส่วนใหญ่ ลองเปลี่ยนมาฟัง Podcast หรือ Audio Book หรือฟังเพลงที่ทำให้สร้างแรงบันดาลใจดูไหมครับ แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำ podcast อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวไปสำหรับมนุษย์ไทย ลองหยิบหนังสือมาอ่านระหว่างทางดีไหมครับ อาจจะเป็นหนังสืออ่านเล่น หรือแนวการสร้างแรงบันดาลใจก็ได้ครับ ซึ่งปกติเวลาผมไปทำงานผมจะพกหนังสือ 1-2 เล่มไว้ในกระเป๋าเพื่ออ่านเวลาเดินทางหรือต้องรอใครก็ตามครับ
การมาก่อนเวลาทำให้เราสามารถโฟกัสว่าจะมีสิ่งใดต้องทำบ้างในวันนี้ สามารถจัดความสำคัญของงานได้ แถมยังเงียบด้วยเพราะคนอื่นเขายังไม่มากัน …แต่อันนี้ผมก็ยอมรับว่ายังทำไม่ได้ครับ 555
หลายคนเลือกเชคเมลเป็นกิจกรรมแรกหลังจากเปิดคอมพิวเตอร์ หรือจ้องจะเชคเมลตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ ลองเปลี่ยนเวลาการเชคเมลดูไหมครับ กำหนดเวลาเป็นช่วงๆ (ไม่หลินฮุ่ย) เช่น จะเชคทุก 10 โมง และ 4 โมงเย็น เป็นต้น (วิธีนี้แนะนำเหมือนในหนังสือทำน้อยให้ได้มาก The Power of Less)
ลองคิดดูว่าคุณทำงานบางอย่างโดยเสียเวลาไปแทบทั้งวันหรือเปล่า? แล้วงานที่ทำไปนั้นสำคัญขนาดไหน ลองหันมาโฟกัสงานที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกดูไหมครับ เมื่อเสร็จแล้วจึงค่อยดูอันถัดๆ ไป
ลองวางแผนว่าในวันนี้คุณจะทำอะไรบ้าง มี Objective อะไรบ้างที่ต้องทำ หรือจะวางเป็นรายสัปดาห์ก็ได้เช่นกันครับ เพื่อให้เห็นภาพรวมในการทำงานทั้งหมด
ลองกำหนดช่วงเวลาในการเบรค หยุดพักการทำงานของคุณเป็นช่วงเวลา เพราะคนเราคงไม่สามารถจดจ่อได้รวดเดียว 4 ชั่วโมง 8 ชั่วโมงแน่ๆ ครับ การพักทำให้เราอาจจะได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ หรือเป็นการทบทวนสิ่งที่เราทำอยู่ก็เป็นได้ครับ
ให้ดำเนินการประชุมให้อยู่ในหัวข้อ และสนใจที่จะเข้าร่วมฟังหรือออกความเห็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เมื่อออกจากห้องประชุมแล้วเราจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่าเราต้องทำอะไรและมีเป้าหมายในการทำเป็นอย่างไร
หาเวลาในการออกกำลังกายบ้างนะครับ การออกกำลังนอกจากจะช่วยลดความเครียดแล้ว ยังสามารถจะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้ดีขึ้นจากสมองที่ปลอดโปร่ง
ความเร็วในการทำงานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่เมื่อเร็วแล้วก็ต้องแลกกับอัตราความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาด ลองลดความเร็วแล้วตรวจทานให้ดี เพื่อที่จะไม่ต้องกลับมาทำใหม่อีกรอบครับ
ลองดูว่าสิ่งที่คุณทำไปสำเร็จมีอะไรบ้างแล้วแชร์ให้คนอื่นได้รับรู้บ้างเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอืนๆ รวมทั้งสนับสนุนงานของเพื่อนร่วมงานของคนอื่นๆ ด้วย
อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ลองให้คนอื่นๆ หรือถามไอเดียจากคนอื่นๆ ดูหากเราไม่สามารถคิดงานหรือทำงานต่อไปได้ (แต่ก็อย่าขอกันบ่อยจนพร่ำเพรือนะครับ)
ฟังดูปลงๆ หน่อยนะครับ แต่หากเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คงต้องทำกันต่อไปให้ดีที่สุด (และอย่าลืมหาโอกาสที่ดีกว่าให้ตัวเองด้วย)
วันหยุดหลายๆ คนเลือกจะไปเดินห้างบ้าง อ่านหนังสือบ้าง ลองหาอะไรทำใหม่ๆ ดูไหมครับแบบไม่ซ้ำกัน เช่น ลองออกไปต่างจังหวัด, ไปปีนเขา, ออกกำลังกายที่ไม่ใช่ในฟิตเนส (อุดอู้อยู่ในร่มทำไม ออกไปกลางแจ้งดีกว่า), เปลี่ยนที่อ่านหนังสือพร้อมจิบกาแฟชิลๆ
อาจฟังดูโลกสวยไปสักนิด แต่การมีอารมณ์คิดบวกนั้น จะมีผลกับงานที่คุณทำ รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่จะได้ประจุบวกจากการทำงานที่มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวกไปด้วย
แม้เราจะพยายามคิดบวกแล้ว แต่ก็ต้องมีเพื่อนร่วมงานบางคนที่ยังคงติดอยู่กับความคิดไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวในแง่ลบอยู่ ครั้นเราจะเพิกเฉยไปเลยก็เหมือนเป็นการปล่อยลอยแพ ดังนั้นสิ่งที่เราน่าจะพอทำได้ก็คือลองยื่นมือให้ความช่วยเหลือด้วยการช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองให้เป็นด้านบวก ลองชี้แจงด้วยเหตุและผล ซึ่งถ้าเขาเปิดใจรับฟังน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากครับ (ในบทความที่ดึงมาบอกว่า หากเขาได้อ่านบทความนี้ด้วยจะดีมาก)
มันเป็นเรื่องเหนือการควบคุมของเรา ซึ่งการมีเรื่องนี้แน่นอนว่าจะทำให้งานและธุรกิจไม่มีความก้าวหน้าถ้ามัวจมปลักกับเรื่องนี้ สำหรับในส่วนของงานของเราแล้ว เราหันมาโฟกัสกับสิ่งที่ทำเพื่อให้งานก้าวหน้าและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ดีกว่าจะไปหมกมุ่นเรื่องนั้นครับ
คนเราย่อมชอบการชม มากกว่าคำตำหนิติเตียนใช่ไหมครับ บางครั้งเราก็ต้อง(พยายาม)เข้าใจในคำเตือนนั้นแม้มันจะไม่น่าฟังก็ตาม ดังนั้นเราก็ควรพิจารณาเลือกฟังคำติเตียนที่สามารถจะเอาไปใช้ในการปรับปรุงงานของเราให้ดีขึ้นได้ นอกนั้นก็คงต้องปล่อยวางนะครับ
ไม่มีสิ่งไหนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจ, การงานก็เช่นกัน เราคงไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะปรับตัวให้กับสภาพและสภาวะการณ์ในปัจจุบันให้ได้ หากว่าคุณอยู่ในระดับบริหาร ลองใช้ประสบการณ์บอกเล่าว่าเราควรต้องทำอย่างไรมากกว่าจะเป็นตัวตั้งตัวตีรอต่อต้านเพียงอย่างเดียว
แหล่งความรู้: Thumbsup.in.th CMD