7 ลักษณะของ Business Model ที่ดี

เราไม่สามารถผลักดันให้ใครขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ หากเขาไม่พร้อมที่จะปีนขึ้นไปด้วยตัวเอง

7 ลักษณะของ Business Model ที่ดี

7 ลักษณะของ Business Model ที่ดี

หากจะออกแบบโมเดลธุรกิจ ต้องทำให้มันแตกต่าง และ ยั่งยืน แต่จะทำยังไงให้ได้ตามที่หวัง ลองใช้ หลักในการคิดโมเดลธุรกิจ 7 อย่างนี้ดูครับ

1. ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้ของคู่แข่งได้ยาก (Switching Cost)

สร้างให้เกิดการผูกมัด หรือ ทำให้เปลี่ยนไปใช้ของคนอื่นได้ยาก เช่น การมีสัญญาระบุระยะเวลา, การทำธุรกิจแบบ Apple ใช้ iOS เปลี่ยนไปได้ยาก, การสร้างการสะสมไมล์ ให้เกิดการอยากใช้อย่างต่อเนื่อง

2. สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง (Recurring Revenues)

อย่าให้การจ่ายเงินของลูกค้าเป็นการจ่ายแค่ครั้งเดียว แต่เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรที่ลูกค้าต้องมาซื้อของเราเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง เพราะการหาลูกค้าใหม่นั้นยากกว่าการให้ลูกค้าเก่ามาซื้อซ้ำ เช่น Nespresso ได้รายได้จากการขาย shot กาแฟ, ค่าสมาชิกรายเดือน, หาสินค้าอื่นๆมาช่วยเสริมรายได้

3. ได้รายได้ก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง (Earning vs Spending)

เราจะทำยังไงให้เราสามารถหารายได้มาก่อนที่เราจะลงทุน เช่น เทสล่า ประกาศเปิดตัวรถ แล้วให้คนจองรถเลยแต่ได้รถอีกสองสามปี สรุปแล้วมีคนมาจองรถเป็นแสนๆคัน ได้เงินมัดจำมาเพียบ แต่โรงงานยังไม่ได้สร้างใหม่เลย.. หรือ การขาย Pre-Sales / Pre-Order โครงการต่างๆ ยังไม่ทันจะสร้างแต่ได้เงินมาก่อนแล้ว

4. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อโครงสร้างต้นทุนในตลาด (Game-changing cost structure)

โมเดลธุรกิจของเราสามารถที่จะทำให้ต้นทุนเราได้เปรียบคู่แข่งทางการค้าอย่างน้อย 30% ?? แต่จะทำยังไง .. เช่น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ การหาช่องทางการขายใหม่ๆ เทคนิคการผลิต การบริหารต้นทุนแบบใหม่ๆ เอาจริงๆ ไม่ต้องถึง 30% ได้แค่ 10% ก็สบายละครับ

5. ให้คนอื่นทำงานแทนเรา (Others who do the work)

ออกแบบโมเดล ให้คนอื่นมาทำงานแทนเราโดยที่เราไม่ต้องทำ เช่น การทำธุรกิจร่วมกันกับคู่ค้าหลายๆราย แล้วคนเหล่านั้นก็พร้อมที่จะทำงานบางอย่างแทนเรา คุณอาจจะทำการผลิต แต่คู่ค้าคุณช่วยหาลูกค้า หรือ ช่วยโฆษณา

6. สามารถขยายขนาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว (Scalability)

โมเดลธุรกิจที่ออกแบบมา สามารถขยายการเติบโตได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เรียกได้ว่า โตเป็นพันเท่าในข้ามคืน ส่วนใหญ่อาจจะเป็นพวก Tech Startup แต่หากเป็นธุรกิจอื่นๆ แค่โตได้สัก 2-3 เท่าก็เจ๋งแล้วครับ แต่อย่างน้อย โมเดลที่ออกแบบมาต้องรองรับการเจริญเติบโต ไม่ใช่มีข้อจำกัดมากมายทำให้โตไม่ได้

7. ป้องกันตัวเองจากคู่แข่งและการแข่งขัน (Protection from Competition)

สามารถออกแบบโมเดลที่ยากต่อการที่คู่แข่งจะเข้ามาแข่งขันและแย่งตลาดกับเรา เช่นการทำโมเดลธุรกิจให้เป็นในรูปการให้บริการขายเป็นรายปี อย่างน้อย คู่แข่งก็เข้ามาทดแทนเราไม่ได้ในช่วงที่ยังอยู่ในสัญญา หรือ การทำสัญญา Exclusive ในการขายที่ว่าจะขายของเราเท่านั้น

หากคุณกำลังออกแบบหรือปรับปรุง ธุรกิจของคุณอยู่ ลองดูว่าโมเดลใหม่ๆ ที่คิดมา มันมี 7 ข้อนี้อยู่บ้างหรือไม่ครับ มันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีทั้ง 7 ข้อ แต่อย่างน้อย ให้มีสิ่งเหล่านี้อยู่บ้างก็ยังดีครับ

เป็น ข้อคิดดีๆ ที่ได้จากการไปสัมมนา Business Model Master Class มาเมื่อเดือนก่อน ทำให้รู้เลยว่า Business Model หากใช้เป็น จริงๆ มันมีอะไรแอบแฝงและซ่อนอยู่เยอะมากๆ ทั้งเทคนิคการคิด การทดสอบ Model ไว้จะมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆนะครับ

 

แหล่งความรู้: yes club

 5058
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของธุรกิจมักจะเน้นไปที่การสร้างยอดขายอยู่เสมอ แต่กว่าที่จะไปถึงขั้นนั้น มันเป็นเรื่องของการสร้างความน่าเชื่อถือบางอย่าง เพื่อให้ลูกค้าไว้วางใจ
CRM หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับสินค้า หรือบริการให้มากที่สุด
การทำธุรกิจในยุคศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนรูปแบบจากในอดีตโดยสิ้นเชิง มาฟังเคล็ดลับดี ๆจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ถึงปัจจัย 4 ข้อ นำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมาย
การที่นักธุรกิจเริ่มต้นหลายคนต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาจนทำให้รู้สึกหมดกำลังใจ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์